วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

  ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

เดิมชื่อของท่าน คอร์ราโด เฟโรชี Corrado Feroci เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย ถือว่าเป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย โดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่คณาศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ท่านมีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่สวนลุมพินี และอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2435 (ค.ศ.1892) ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี นามเดิมคือ คอร์ราโด เฟโรจี ตรงกับรัชกาล 6 ในขณะนั้น รัฐบาลประเทศสยาม มีนโยบายขอให้รัฐบาลประเทศอิตาลีคัดเลือกประติมากรผู้มีฝีมือมารับราชการปฏิบัติงานหมีคำไม่สุภาพ และถ่ายทอดความรู้แก่ชาวสยาม ให้มีความรู้ทางด้านศิลปะทัดเทียมกับชาวตะวันตก ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2466 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงได้รับมอบหมายและเดินทางมารับราชการกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในตำแหน่งช่างปั้น ที่ประเทศสยาม ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2466 เมื่ออายุท่านย่าง 32 ปี ผลงานที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงจนได้รับเลือกมารับราชการในประเทศสยาม คือ ประติมากรรมอนุสาวรีย์สงคราม ที่เมืองปอร์โตเฟอราอิโอ ทางด้านชีวิตครอบครัว ก่อนเดินทางมาประเทศไทย ท่านเคยแต่งงานมาครั้งหนึ่งแต่ได้แยกทางกัน และท่านเดินทางมากับภริยาใหม่ คือ นางฟันนี วิเวียนนี และได้ใช้ชีวิตร่วมกันในประเทศสยาม จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวขอท่านจึงกลับประเทศอิตาลีพร้อมลูกชาย และลูกสาว แต่ท่านกลับอยู่ประเทศสยามด้วยความเสียสละเพื่องานศิลปะ และด้านศิลปะศึกษาที่ท่านรัก ท่านแยกทางกันแต่มีโอกาสได้พบกันเมื่อท่านลางานเพื่อเยี่ยมเยือนครอบครัวในบางปี
ปี พ.ศ.2486 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี มีสัญชาติอิตาเลี่ยนซึ่งแพ้สงครามจึงถูกกักกันตัว ( บางครั้งกล่าวว่ากักบริเวณ ) ท่านจึงเปลี่ยนชื่อ และสัญชาติโดยมีชื่อ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีแทนนามเดิมท่านแต่งงานกับคุณมาลินี แคนนี่ แต่ไม่มีบุตร ธิดาด้วยกัน ท่านอุทิศตนจนถึงวาระสุดท้ายให้กับการบุกเบิกศิลปะ และศิลปะศึกษาในประเทศไทย แม้อายุท่านล่วงเลยเกิน 60 ปีแล้ว จวบจนท่านถึงแก่กรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 โดยสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมโดยเฉพาะอนุสาวรีย์ที่สำคัญต่างๆ ในประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น